สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 สิงหาคม 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ
(2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์
การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,837 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,692 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,907 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,718 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,090 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.08
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,825 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,650 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,193 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,428 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,178 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,934 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 494 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,100 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,117 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,825 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 10 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,313 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,025 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 288 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5352

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          ข้าวโลก
          ปี 2562/63 ผลผลิตข้าวโลกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ผลผลิตของเวียดนามและอิรักเพิ่มขึ้นทดแทนผลผลิตของไทยและสหรัฐฯ ที่ลดลง การค้าโลกคาดว่าลดลง เนื่องจากคาดว่าอิรักนำเข้าข้าวลดลง และไทยส่งออกข้าวลดลง ประกอบกับจีนมีการบริโภคข้าวที่ลดลง ทำให้สต็อกข้าวโลกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ เมื่อ
ปีที่ผ่านมา (ปี 2561/62) ผลผลิตข้าวโลกเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากเนปาล และเวียดนาม มีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียและอียูลดลง การค้าโลกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากการซื้อของจีนลดลง ประกอบกับการส่งออกของไทยและเวียดนามลดลง
          สำหรับราคาช่วงเดือนที่ผ่านมา ราคาส่งออกของไทยและเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาส่งออกของไทยสูงสุดในรอบปี ส่วนราคาของเวียดนามลดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ขณะที่เวียดนามเสนอราคาข้าว 5% ต่ำกว่าไทย 100 บาท โดยช่องว่างระหว่างราคาของทั้งสองประเทศสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้
การส่งออกของไทยลดลงทุกปี แต่การที่เวียดนามเสนอราคาที่ต่ำก็ทำให้ความต้องการข้าวของจีนลดลงมาก โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี เวียดนามส่งออกไปจีนลดลงมากกว่าร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกไปยังฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการค้าของฟิลิปปินส์เองกลับกระตุ้นให้ราคาส่งออกลดลงอีก ในทางตรงกันข้าม ราคาข้าวไทยยังคงสูงขึ้น เป็นผลจากความแห้งแล้งต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตในฤดูการผลิตปัจจุบัน นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินบาทยังส่งผลให้ราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นด้วย
          ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
          อิรัก
          ปี 2562/63 ด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้อิรักมีการเพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นและให้ผลตอบแทนสูง
ปี 2563 คาดว่าการนำเข้าจะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ผลิตในเอเชีย และตะวันตก
โดยบรรดาประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของเอเชีย เช่น ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่ อินเดียและเวียดนามมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศผู้ผลิตแถบตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา อุรุกวัย และอาร์เจนตินา มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ รวมทั้งปารากวัยที่เพิ่งเริ่มเข้ามาในตลาดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในปี 2562 สัดส่วนการนำเข้าจากตะวันตกมีแนวโน้มลดลง ขณะที่สหรัฐอเมริกายังคงมียอดขายที่เพิ่มขึ้น
          ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนสิงหาคม 2562


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.27 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.75
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.25 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.12 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.38 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 310.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,474 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 299.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,158 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 316 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 376.20 เซนต์ (4,587 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 405.20 เซนต์ (4,942 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.16 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 355 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 31.43 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.44 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.67 ล้านตัน (ร้อยละ 2.12 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.67 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.80
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.84 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.03
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.15
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,267 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,270 บาทต่อตัน)     
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,741 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,746 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.151 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.207 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.203 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 4.32 และร้อยละ 4.61 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.26 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.02 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกก.ละ 15.91 บาทลดลงจาก กก.ละ 15.98 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น 
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนตุลาคม 2562 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,119 ริงกิตต่อตัน (529.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียที่เพิ่มขึ้น และจากการสำรวจในช่วง 15 วันแรกของเดือนสิงหาคม 2562 มาเลเซียได้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา สำหรับอินโดนีเซียได้สนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์มดิบโดยเร่งโครงการไบโอดีเซลในประเทศ เพื่อเพิ่มการบริโภคลดสต็อกและเพิ่มราคา รวมถึงรัฐบาลได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบไบโอดีเซลในต้นปี 2563 อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบยังได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของน้ำมันพืชอื่นที่เกี่ยวข้องที่แข่งขันในตลาดน้ำมันพืชทั่วโลก
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,144.87ดอลลาร์มาเลเซีย (16.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,034.51 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.22บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.42
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540.50ดอลลาร์สหรัฐฯ(16.74บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 509.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.19
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
 



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา                  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 865.20 เซนต์ (9.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 852.32 เซนต์ (9.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 294.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.11บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 294.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.07
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.30 เซนต์ (20.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.07 เซนต์ (19.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.20


 

 
ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 39.23 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ลดลงจาก 41.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.05 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ลดลงจาก 41.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.12
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ลดลงจาก 40.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.20
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.72 บาท ลดลงจาก 20.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.87 บาท หรือลดลงร้อยละ 9.08
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.26 บาท ลดลงจาก 17.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.13 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.50
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.29 บาท ลดลงจาก 36.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.82
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.48 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.13 บาท ลดลงจาก 41.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.66
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 32.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.88 บาท ลดลงจาก 41.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.67
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.39 บาท เพิ่มขึ้นจาก 32.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.74 เซนต์สหรัฐฯ (45.42 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 148.20 เซนต์สหรัฐฯ (45.27 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.54 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.35 เยน (53.27 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 183.50 เยน (52.25 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.85 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55


 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                                                  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.42 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 19.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.26
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ
1,014.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 915.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 915.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.97 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 948.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 553.20 ดอลลาร์สหรัฐ (16.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,074.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.79 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,073.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.68
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 3.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.14 (กิโลกรัมละ 40.37 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 59.23 (กิโลกรัมละ 40.45 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,710 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,682 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.66
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,371 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,345 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.93
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 845 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 839 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.74 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.82 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.53 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.76 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 64 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 64  บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่มีเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.91 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ยังคงคึกคักและคล่องตัว ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลจากก่อนหน้านี้ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่ ได้ร่วมมือกันปรับผลผลิตไข่ไก่ทั้งระบบให้สมดุลกับความต้องการบริโภค อีกทั้งในช่วงนี้ได้ปลดแม่ไก่ไข่เพิ่มเพื่อรองรับเทศกาลสารทจีน  ทำให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 286 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00  บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ  331  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 327 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.14  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 380 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.58 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.73 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.30 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 – 15 สิงหาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 35.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.30 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.82 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.30 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 162.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 47.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา